การค้นหาข้อมูล

1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ และข้อมูลที่มีอยู่ในเครือข่าย

          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้  เป็นเครือข่ายประเภทต่าง ๆ  ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรง


          อินทราเน็ต (Intranet) เป็น เครือข่ายภายสำหรับองค์กรหนึ่ง ๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร  หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร  คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน  หรือกระจายกันอยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลกก็ได้ 
                 เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)  เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรเช่นเดียวกับอินทราเน็ต  แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาตต่อเชื่อมกับเครือข่ายได้ด้วย  
                 อินเทอร์เน็ต (Internet) ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต เป็นเครือข่ายส่วนบุคคลเนื่องจากมีเจ้าของและเจ้าของเป็นผู้กำหนดว่าใครบ้าง สามารถเป็นสมาชิกของเครือข่ายได้ (Private network)  แต่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ  ทุกคนที่อยากต่อเชื่อมกับเครือข่ายสามารถต่อเชื่อมได้  เพียงแต่ปฏิบัติตามกติกาซึ่งมีคณะกรรมการอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศเป็นผู้ กำหนด  อินเทอร์เน็ตจำเป็นแหล่งข้อมูลเปิดแหล่งใหญ่ที่สุดของโลกที่มีข้อมูลสารพัด ชนิด  ทั้งที่มีประโยชน์ เช่น ข่าวสาร และสารความรู้ต่าง ๆ และสิ่งที่เป็นพิษและเป็นภัย 
                  รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวแล้ว เป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ต่างกัน  ดังนั้น  รูปแบบของการนำเสนอของข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจึงอาจแตกต่างกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการเป็นสมาชิกในวงปิดอาจใช้รูปแบบและวิธีการของตัวเอง  


2. การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต 
                   ใช้วิธีการที่เรียกว่า เซิร์จเอ็นจิน (Search engine) ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ การค้นหาทำได้โดยการพิมพ์ คำสำคัญ หรือ คีย์เวิร์ด (Key Word)  เข้าไปในช่องที่กำหนด แล้วคลิกที่ปุ่ม SEARCH หรือ GO โปรแกรมค้นหาจะเริ่มทำงาน การแสดงผลการค้นหาจะแสดงชื่อเว็บไซต์ URL  และมักจะแสดงสาระสังเขปของเว็บไซต์นั้นๆ ด้วย  เพื่อช่วยให้ผู้คนหาสามารถตัดสินใจในเบื้องต้นว่าเว็บไซต์นั้นมีข้อมูลที่ต้องการหรือไม่  

โปรแกรมค้นหาที่นิยมใช้กันมาก เพราะเพาะมีความสามรถสูงนั้น มีอยู่ตามเว็บไซต์ต่อไปนี้
                                http://www.google.com
                                http://www.altavista.com
                                http://www.excite.com
                                http://www.yahoo.com  เป็นต้น

3. คำแนะนำในการใช้  Google
                 3.1 การค้นหาแบบง่าย ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการ้นหาเพียง 2-3 คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ โปรแกรมค้นหาของ Google จะแสดงเฉพาะเว็บเพจที่มีคำทุกคำที่ท่านได้พิมพ์ลงไปดังนั้น  ถ้ายิ่งใส่จำนวนคำลงไปมาก  จำนวนเว็บเพจที่ค้นพบจะยิ่งลดจำนวนลง  เพราะเป็นการค้นหาที่มีเงื่อนไขมากขึ้นนั้นเอง
                    3.2  ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักการทำงานของ Google เพื่อการค้นหาชั้นสูง
1. อักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กตัวใหญ่มีผลไม่ต่างกัน โดย Google จะถือว่าอักษรตัวเล็ก (Lower case) ทั้งหมด
2. คำว่า and มีอยู่แล้วโดยปริยาย เฉพาะ Google จะหาเฉพาะเว็บเพจที่มีคำครบทุกคำ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ and เพื่อเชื่อมระหว่างคำหลัก แต่ลำดับก่อนหลังของคำหลักจะให้ผลที่แตกต่างกัน
3. คำสามัญประเภท a, an, the, where, how  จะถูกตัดทิ้งโดยอัตโนมัติ รวมทั้งตัวอักขระโดดๆ  เพราะคำพวกนี้ทำให้การค้นหาช้าลง และไม่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นแต่อย่างใด 
4. การกำหนดเงื่อนไขไม่ใช่คำบางคำในการค้นหา  โดยนำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมายลบ ( - ) เช่น ต้องการหาเว็บเพจที่เกี่ยวกับ e-Commerce Thailand – handicraft
5. การกำหนดให้ใช้คำที่มีความหมายคล้ายกัน (Synonym) ด้วย ให้นำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมาย tilde
6. การเลือกคำหลักมีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
      - ลองใช้คำตรงๆ ก่อน เช่น ถ้าท่านต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Picasso ก็ให้ใส่คำว่า Picasso ลงไป
      - แทนที่จะใช้คำว่า painters
      - ใช้คำที่คิดว่าน่าจะมีอยู่ในเว็บไซต์ที่ต้องการหา เช่น Jumbo Jet ในเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินโดยสาร เป็นต้น
      - ทำให้คำหลักมีความเจาะจงมากที่สุดที่จะเป็นไปได้เช่น Antiquelead soldier จะดีกว่า old metal toys
7. รูปคำต่างกันที่มากจากรากศัพท์เดียวกันจะได้รับพิจารณาโดยอัตโนมัติ เช่น diet กับ dietary
8. การค้นหาตามหมวดสาขา ( Category )  ในกรณีที่คำหลักมีความหมายได้หลายอย่าง และท่านไม่แน่จ่าจะทำให้เจาะจงอย่างไร ให้เข้าไปที่ Directory ของ Google ซึ่งอยู่ที่ directory
9. Google มี หน้าเว็บพิเศษสำหรับช่วยให้สามารถทำการค้นหาชั้นสูงได้ง่ายขึ้นโดยผู้ใช้ไม่ ต้องจดจำวิธีการพิมพ์เงื่อนไขแต่ใช้วิธีเลือกพิมพ์ข้อความลงไปในช่องที่ เหมาะสมแทน ซึ่งสามารถค้นหาเป็นภาษาไทยได้

 

4. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)  
                เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากแบบหนึ่ง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับต้องมีอีเมลแอดเดรส (email address) หลักการเช่นเดียวกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ กล่าวคือผู้ส่งใช้โปรแกรมรับส่งอีเมล 
                ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้สามารถใช้ส่งจดหมายฉบับเดียวกันถึงผู้รับหลายๆ  คนก็ได้และโปรแกรมรับส่งส่วนมากจะอนุญาตให้ผู้ใช้จักทำรายชื่อกลุ่มผู้รับ (Group mailing list) เช่น อาจตั้งชื่อกลุ่มว่า Members in Bangkok  ประกอบด้วยผู้รับ 35 ราย Members in the North อีก 25 ราย Members in the South อีก 20 ราย เป็นต้น  เมื่อจัดทำรายชื่อผู้รับ(อีเมลแอดเดรส) ในแต่กลุ่มเรียบร้อยแล้ว จะทำการส่งถึงกลุ่มใด ก็เพียงแต่ระบุชื่อชื่อกลุ่มเท่านั้นไม่ต้องป้อนอีเมลแอดเดรสของผู้รับแต่ละราย ซึ่งทำให้สะดวกและประหยัดเวลาได้มาก

5. กระดาษข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Web forum)  
                เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คล้ายกับการเขียนข้อความไว้บนกระดาน เพื่อให้กลุ่มคนที่ต้องการจะสื่อสารกันมาอ่านและเขียนโต้ตอบกันได้  แต่กระดานในที่นี้เป็นกระดานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละราย ปัจจุบันนี้  เว็บไซต์บางแห่งจัดตั้งเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ แยกเป็นแต่ละกระดานสำหรับแต่ละเรื่อง  
 
6. ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้ 
            วิธีการที่ใช้กันในห้องสมุดต่างๆ ทั่วโลกนั้น เรียกว่าการจัดทำบัตรรายการ และการกำหนดหมู่          เลขรหัส สำหรับหนังสือแต่ละเล่มหรือเอกสารแต่ละชิ้น
               การกำหนดหมู่เลขรหัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมีสองระบบ ระบบแรกเรียกว่า ระบบดิวอี้ (Dewy Decimal System) นิยมใช้กันตามสถาบันการศึกษา ส่วนระบบที่สองเป็นระบบใหม่กว่า เรียกว่า ระบบแอลซี (Library of congress System) เป็นระบบที่คิดขึ้นมาใช้สำหรับห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐซึ่งเป็นห้องสมุดที่มีจำนวนหนังสือและเอกสารมากที่สุดในโลก เหตุที่ต้องคิดหาระบบใหม่ขึ้นมาใช้นั้น ว่ากันว่าเพราะระบบดิวอี้ดั้งเดิมมีความละเอียดไม่พอ ไม่สามารถแยกประเภทของหนังสือบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดีพอ อย่างไรก็ตาม ระบบดิวอี้ได้มีการพัฒนาขึ้นในเวลาต่อมา จนในปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมไม่แพ้ระบบแอลซี

7. Digital Library ห้องสมุดบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
              Digital Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์ ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิม หรือแม้แต่เพียงจะสามารถมีบทบาทเทียบเคียงกับห้องสมุดแบบดั้งเดิม

8. แหล่งข้อมูลของประเทศไทยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
              เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ติดตั้งอยู่ทั่วโลกเชื่อมโยงกัน จำนวนมากเครื่องแม่ข่ายแต่ละเครื่องมีข้อมูลข่าวสารบางอย่างบางประเภทบรรจุ อยู่ 
              ประเทศไทยเราก็ได้มีการจัดตั้งเว็บไซต์ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งของภาครัฐและของภาคเอกชน ในที่นี้จะได้กล่าวถึงเว็บไซต์ที่คิดว่าจะมีประโยชน์สำหรับนักศึกษา โดยจะแยกกล่าวเป็นแต่ละประเภทของข้อมูลหลักในเว็บไซต์นั้นๆ
         - เว็บไซต์ประเภท Portal หรือ Gateway หรือชุมทาง ที่กล่าวถึงเว็บไซต์ประเภทนี้เป็นประเภทแรก เพราะเป็นประเภทที่มีประโยชน์มาก เวลาที่เราไม่แน่ใจว่าจะหาข้อมูลประเภทที่ต้องการได้จากแหล่งใด หากเราเข้าไปที่เว็บไซต์ประเภทนี้ จะพบว่าในเว็บไซต์ได้ทำจุดเชื่อโยงไปยังเว็บไซต์อื่นโดยจัดแบ่งเป็นประเภทไว้ ทำให้เราสามารถหาแหล่งข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายขึ้น 
                - เว็บไซต์ประเภทของการศึกษา เว็บไซต์การศึกษาในประเทศไทยมีจำนวนมากทั้งของสถานบันอุดมศึกษาและของโรงเรียนต่างๆ เว็บไซต์ที่อาจถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ชุมทางประเภทการศึกษา 
                - เว็บไซต์ประเภทศิลปวัฒนธรรม เว็บไซต์วัฒนธรรมไทย http://www.culture.go.th ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จัดว่าเป็นเว็บไซต์หลักในเว็บไซต์ประเภทนี้  
                - เว็บไซต์ประเภทท้องถิ่น เว็บไซต์ประเภทนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วเว็บไซต์ชุมทางของประเภทนี้ ได้แก่ http://www.thaitambon.com ซึ่งเป็นที่รวบรวมเว็บไซต์ของตำบลต่างๆ ทั่วประเทศไทย 
               - เว็บไซต์ประเภทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
                 - เว็บไซต์ประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) หมายถึง การทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้าขายผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ขณะนี้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วโลก